วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


การ มีบุคลิกภาพที่ดี ย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาพพจน์ที่ดีที่มีต่อสายตาของลูกค้า ถือว่าเป็นภาพภายนอกที่คุณจะต้องแต่งแต้ม เพื่อให้ลูกค้าประทับใจเมื่อแรกพบ การมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเสมือนโซ่คล้องใจลูกค้าให้เกิดความประทับใจ ความมั่นใจในตัวผู้ให้บริการคนนั้น ซึ่งมิใช่เป็นเพียงแค่พนักงานขายที่ทำหน้าที่ขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น
  • บุคลิกภาพที่ดี
                    สามารถบ่งบอกนัยของการทำ งานบางอย่างนั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการสร้างปฎิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น  ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเสมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตนเองที่มีต่อสายตาผู้อื่น                                                                                                                       
  • การทักทาย
    เมื่อผู้ให้บริการแต่ง กายสุภาพเรียบร้อยและมีบุคลิกภาพที่ดีพร้อมในการปฏิบัติงานแล้ว เมื่อเริ่มต้นวันในการทำงานและพบกับลูกค้าที่เข้ามารับบริการ การทักทายจะเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่เป็นเสมือนห่วงโซ่ร้อยใจระหว่างบุคคล ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในทางบวก ( Positive Relations) การ ทักทายจัดได้ว่าเป็นพรแสวงที่ทุกคนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นมาได้ บุคคลที่รู้จักวิธีการทักทายผู้อื่นอย่างเหมาะสมด้วยกาลเทศะ เทคนิค และระดับของผู้ที่ถูกทักทายแล้วล่ะก็ บุคคลผู้นั้นย่อมมีเสน่ห์ชวนคบหาสมาคมด้วย ควร แสดงการทักทายด้วยการไหว้ เพราะการไหว้เป็นกิริยามารยาทที่สุภาพที่สุดและเป็นสัญลักษณ์ของคนไทย การไหว้ที่ดีมิใช่สักแต่ว่าจะไหว้ การไหว้ที่ดีนั้นควรจะยกมือทั้งสองข้างขึ้นพนม แล้วค่อย ๆ ก้มศีรษะเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนอบน้อมบุคคลที่เราไหว้ด้วย พร้อมกับเอ่ยคำทักทายด้วยคำว่า สวัสดี 

  • การ มอบรอยยิ้ม
    ยิ้มเท่านั้นที่สามารถชนะใจลูกค้าได้ คนที่มีรอยยิ้มหรือเป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นบุคคลที่น่าคบหาสมาคมด้วย ตรงกันข้ามกับคนที่ทำหน้าบึ้งตึงอยู่ตลอดเวลา เพราะดูแล้วไม่น่าใกล้ชิด ดูเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย ส่งผลให้ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้หรือคบหาสมาคมด้วย ดังนั้นการผูกมิตรที่ง่ายและสามารถทำได้อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น การยิ้มไม่ใช่การแสยะยิ้มหรือฝืนยิ้ม ควรจะเป็นการแสดงออกจากใจจริง คนบางคนอาจไม่ชอบพูด แต่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้าของตนจากรอยยิ้มได้ 

การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ตัวเราควรจะเป็นฝ่ายรุก รุกเข้าหาลูกค้าเพื่อสานต่อความผูกพัน อันนำมาซึ่งเสน่ห์ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้จากการทักทายในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในทางกลับกัน หากเราเป็นฝ่ายที่ถูกทักทายก่อน ก็ควรจะสนองตอบการทักทายนั้นด้วยเช่นกัน จงอย่าปล่อยให้ผู้ทักทายรู้สึกเสียหน้า หรืออับอาย เพราะเราไม่ยิ้มให้หรือไม่พูดด้วยเลย เพราะเมื่อเกิดความรู้สึกเช่นที่ว่านี้แล้ว แน่นอนว่าต่อไปบุคคลนั้นอาจจะไม่เข้ามาใช้บริการกับเราอีกต่อไปก็เป็นได้ และส่งผลต่อสัมพันธภาพในทางลบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย 

การเป็นผู้ให้บริการที่ดี มิใช่แต่ว่าจะทำงานตามหน้าที่หรือขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมายตามตำแหน่งงาน ที่ถูกกำหนดขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Job Description เท่า นั้น แต่การที่จะมีจิตสำนึกของการให้บริการที่ดีได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีหัวใจของการให้ เป็นการให้ทุกอย่างเพื่อให้ลูกค้าพอใจ เพราะลูกค้าพอใจผลงานเรา ย่อมหมายความถึงผลงานที่กำลังจะตามมา และการเป็นผู้สังเกตที่ดีที่จะช่วยให้ลูกค้าพอใจได้นั้น ควรเป็นผู้ที่สามารถประมวลและประเมินผลข้อมูล เพื่อหากลยุทธ์หรือวิธีการที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนการแสดงออกของตนเองที่ มีต่อลูกค้า เช่น สังเกตเห็นว่า ลูกค้ามีโมโหมา ทำเสียงเอะอะโวยวาย ไม่พอใจ …. คุณควรใจเย็น และพูดจาตอบกลับไปด้วยความสงบ และเห็นแก่ประโยชน์สูงสุดที่จะให้เขาได้  เช่นนี้เป็นต้น



ทายนิสัยจากรอยยิ้ม ของคุณ

- คนที่ยิ้มกว้าง

จะเห็นได้ชัด ๆ เลยว่าส่งประกายรัศมีความสุขออกจากรอยยิ้มกว้างนี้แหละค่ะ สร้างความสุขสดชื่นให้กับโลกนี้ไว้ไม่ให้แห้งเฉาและสิ้นหวัง และด้วยความที่ พูดอย่างที่คิดและจริงใจตรงไปตรงมานี้เองทำให้คนที่ยิ้มกว้างนี้มีแต่มิตร แท้และไม่เคยเหงาเลยค่ะ

- คนที่ยิ้มปากปิด
เป็นผู้ที่มีความพิถีพิถันและมีความเป็นส่วนตัวสูง (ปรี๊ดเลยค่ะ) เป็นคนที่ไม่ยอมเสี่ยงหากไม่ผ่านการตรวจสอบเสียก่อน และเป็นคนที่ไม่ค่อยจะวางใจอะไรใครง่าย ๆ เสียด้วย อาจต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะยอมเปิดเผยความลับหรือเรื่องราวของตัวเอง แหม๋...ลึกลับจริง ๆ นะ สำหรับคนที่ยิ้มปากปิด

- คนที่ยิ้มบาง
แย้มปากแต่เล็กน้อยมีหลาย ๆ คนกล่าวไว้ว่า เป็นการยิ้มที่มีบุคคลิกที่ดีที่สุดถือเป็นการยิ้มของนักการฑูตโดยแท้ (นั่นแน่อนาคตไกลจริงคนยิ้มแบบนี้) แต่ก็แสดงถึงการต้องการความเป็นส่วนตัวนะค่ะ การยิ้มแบบนี้แสดงถึงว่าอย่ามายุ่งกับเรื่องส่วนตัวของฉันนะเจ้าค่ะ

- คนที่ยิ้มแบบมุมปากข้างเดียว
สาวคนใดที่ยิ้มแบบนี้รับรองชาย ๆ ติดตรึมต้องมนต์เสน่ห์แน่นอน เรียกได้ว่า ติบหนึบเป็นแม่เหล็กดูดเหล็กเชียวละ หนุ่ม ๆ จะหลงใหลในเสน่ห์อันลึกลับของรอยยิ้มยั่ว แถมมีสิทธิ์บงการสั่งงานหนุ่ม ๆ ได้อีกละค่ะ (แต่ระวังน๊ามายาหนุ่มหนึ่งร้อยเก้าเล่มเกวียน)..อิอิ..

1. มีทัศนคติที่ดีต่องงานขาย สินค้า และลูกค้า การมีทัศนคติที่ดีต่องอาชีพที่คุณทำ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกอาชีพ ซึ่งงานขายนั้นถือว่าเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความอดทนและใจรักสูง
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท สินค้าที่ขาย คู่แข่ง การรู้จักศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการของทั้งตัวเองและคู่แข่ง ถือว่าเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในการขายได้มากขึ้น
3. มีความสามารถในการขายตามขั้นตอนของการขาย การเปิดการขาย การเสนอขาย การขจัดข้อโต้แย้ง การปิดการขาย
4. ทำงานอย่างทุ่มเท เพราะงานขายเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถของตัวคุณเองล้วนๆ เพราะฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับความขยันหรือความทุ่มเทของตัวคุณเอง
5. งานขายเป็นงานที่คุณจะอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องมีความกระตือรือร้นในการขายตลอดเวลา
6. รู้จักควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เพราะแต่ละวันคุณจะเจอลูกค้าต่างๆ มากมาย
7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หากใครคิดว่างานขายเป็นงานที่ไม่ต้องใช้สมอง ขอบอกว่าคุณคิดผิดถนัด หากไม่มีความคิดสร้างสรรค์ คุณคงไม่สามารถหากลยุทธ์ต่างๆ มาขายสินค้าได้แน่ๆ
8. มีบุคลิกภาพที่คนอยากเข้าหา นั่นคือ บุคลิกของคนที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ไม่สร้างความอึดอัด หรือความลำบากใจให้กับคนอื่นๆ เพราะอาชีพคุณเป็นอาชีพที่ต้องเจอคนเป็นหลัก
9. มีสุขภาพกายและจิตดี เหมาะสำหรับรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างเคร่งเครียด กดดัน และวุ่นวายในแต่ละวันกับการต้องพบปะลูกค้าหรือว่าการแก้ไขปัญหาต่างๆ
10. มีอุปนิสัยที่คนชอบ นั่นคือนิสัยที่คนอยากอยู่ใกล้ เป็นกันเอง ร่าเริง สนุกสนาน หรือมีน้ำใจ ใครๆเห็นก็ย่อมยินดีเปิดประตูหรืออ้าแขนรับคุณแน่ๆ

             

ประเมินตัวเอง เป้าหมายชีวิต
         บุคลิกภาพที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับการมีกาลเทศะด้วย เพราะฉะนั้นการที่จะส่งเสริมให้ตนเองนั้นมีบุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้น คือ เราจะต้องรอบคอบด้วยว่าในขณะนั้น ตัวเราอยู่ในสถานที่ใด ในสถานะอะไร และมีใครที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้การแสดงออกทางด้านบุคลิกภาพที่ดี ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองได้
               ในตัวของข้าพเจ้าเองนั้น มีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งในด้าน ร่างกาย กริยา วาจา ใจ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าการฝึกฝนตนเองให้กลายเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้นได้ ไม่ใช่เรื่องยากอะไรหาก เรามีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำจริงๆ
  ระยะเวลา
               1 เดือน ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 15 สิงหาคม 2552
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
๑.     เ ป็นคนที่มีความมั่นใจในการแสดงออกถึงบุคลิกภาพของตน
๒.   เป็นคนที่แสดงออกถึงบุคลิกภาพได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
๓.   พบจุดพอดีหรือความเป็นตัวของตัวเองที่จะแสดงออกถึงบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม
๔.   เพื่อที่จะเป็นที่ไว้วางใจในผู้ที่อาวุโสกว่า หรือ ผู้ที่รุ่นราวคราวเดียวกัน

วิธีการเรียนรู้
๑.     สอบถามกับผู้ที่เราเห็นว่าเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี ตรงตามแบบอย่างที่เราต้องการจะเป็น
๒.   เลือกศึกษาด้วยตนเอง โดยค้นหาหนังสือ หรือบทความ ที่กล่าวถึงการฝึกบุคลิกภาพให้ดีขึ้น
๓.   เรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าในสถานการณ์นั้นๆเราควรวางตัวอย่างไรให้เหมาะสม

แนวทางพิสูจน์ว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
               อันดับแรกก็ต้องสำรวจตัวเองก่อนเลยว่าดูเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ เพราะหากเราฝึกบุคลิกภาพได้ดีขึ้นแล้ว สภาพอารมณ์และจิตใจก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีด้วย
               ต่อมาให้สังเกตจากคนรอบข้างว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร หรือหากไม่ต้องการสังเกต ก็ให้เข้าไปถามเลยว่าเราเปลี่ยนไปบ้างแล้วหรือไม่มากน้อยเพียงใด

คำอธิบายเพิ่มเติม
               องค์ประกอบของบุคลิกภาพของบุคคล
               บุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆดังนี้
๑.     ด้านกายภาพ หมายถึงรูปร่างหน้าตา ทรวดทรง ท่าทาง การแต่งกาย การเดิน เป็นต้น
๒.   ด้านวาจา หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง ซึ่งผู้อื่นจะรับรู้ได้โดยการฟัง ลักษณะต่าง ๆ สะท้อน บุคลิกภาพด้านนี้เช่น การพูดไม่เข้าหูคน การพูดจากระโชกโฮกฮาก การพูดจาน่าฟัง เป็นต้น บุคลิกภาพทางวาจาที่ดีย่อมหมายถึงการพูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟังเป็นมิตร และได้สาระ
๓.   ด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางการคิดแก้ปัญหา ไหวพริบ ความสามารถที่จะมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม คิดเป็น รู้จักคิด คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แสดงออกหรือสนองตอบผู้อื่นได้อย่าง“ทันกัน” และ “ทันกาล”
๔.   ด้านอารมณ์ หมายถึง การมีอารมณ์ดี คงเส้นคงวา ไม่วู่วาม เอาแต่อารมณ์ ฉุนเฉียวโกรธง่าย หรือบางคนมีอารมณ์ร่าเริง มากกว่าอารมณ์อื่น หรือบางคน เครียด เศร้า ขุ่นมัว หม่นหมองอยู่เสมอ
๕.   ด้านความสนใจและเจตคติของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปบางคนไม่สนใจการเมือง ซึ่งบางคนมีความสนใจ หลากหลายไม่สนใจเพียง เรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
๖.    ด้านการปรับตัว มีผลต่อลักษณะของบุคลิกภาพ ถ้าใช้แบบที่ดีมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สังคม ยอมรับ จะอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามถ้าปรับตัวไม่ดีวางตัวในสังคมไม่เหมาะสม ย่อมมี ผลเสียต่อบุคลิกภาพด้านอื่น ๆ ไปด้วย

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


สร้างจิตสำนึกในงานบริการ ตอน บุคลิกภาพที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

        การมีบุคลิกภาพที่ ดีสามารถบอกเกี่ยวกับการทำงานบางอย่าง เช่น การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหา และอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น
        เพราะฉะนั้น บุคลิกภาพจึงเป็นเหมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตัวเอง การสร้างบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นไม่ยาก ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการโดยมีเทคนิคและหลักการปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

1. การจัดทรงผม
    คงจะเป็นเรื่องแน่ถ้าคุณเดินเข้าห้องประชุม หรือไปพบลูกค้าปรากฏหว่าผมคุณไม่ได้หวี  คุณลองคิดดูว่าฝ่ายตรงข้ามจะคิดอย่างไร? ซึ่งในบางครับคุณอาจเสียลูกค้าไปเลยก็ได้ โดยมีวิธีพัฒนาตัวเองดังนี้ ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งตรวจดูทรงผมว่าเรียบร้อยหรือยัง และจัดทรงผมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส และบุคลิกภาพของตนเองด้วย

2. การแต่งกาย
    การ แต่งกายด้วยเสื้อผ่าที่หลุดลุ่ย มีกลิ่นเหม็นอับ เสื้อผ้าที่เซ็กซี่เกินไป การแต่งตัวเช่นนี้ทำให้คนอื่นคิดมากไปต่างๆ นาๆ หรือลูกค้าบางคนไม่ชอบก็จะทำให้ไม่ได้อยากพูดคุยด้วยก็เป็นได้ โดยมีแนวทางในการพัฒนาตนเองดังนี้ ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่าง และบุคลิกลักษณะของตน โดยดูความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่ที่คุณจะไปด้วย นอกจากนี้ควรดูสภาพเสื้อผ้าที่แต่งด้วย คือควรรีดและจัดเสื้อให้เรียบร้อย ที่สำคัญไม่ควรให้ผ้าเหม็นอับหรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์

3. การเดิน นั่ง และยืน
    ลักษณะการเดิน นั่ง และยืน สามารถบอกได้ถึงนิสัยของตัวคุณเองว่าเป็นคนอย่างไร มีอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการเป็นอย่างไร ซึ่งบางคนเดินห่อไหล่ ทำให้ดูไม่มั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก หลักง่ายๆ ในการเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีก็คือ ยืดตัว หน้าตรง เดินแกว่งแขนไปมาเล็กน้อย เพราะการที่เราเดิน นั่ง และยืนถูกลักษณะนอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองแล้วยังมีผลต่อสุขภาพของ คุณเองอีกด้วย

4. การใช้สายตา และแววตา
    สายตาและแววตาที่แสดงออกมานั้นสามารถเป็นสิ่งดึงดูดใจผู้อื่นได้ แต่บางคนมีแววตาเศร้าหมอง สีหน้าอิดโรย ดูเหมือนคนไม่ได้นอน หรือเจอเจ้านายหรือลูกน้องด้วยแล้วจะทำให้บริษัทของคุณดูเงียบขรึมไปในทันที หรือบางคนเวลาที่เราคุยด้วยสายตาจะไปมองที่อื่น โดยคุณสามารถพัฒนาเริ่มจากตัวเองได้ดังนี้ การคุยกับผู้อื่นต้องสบตาเราต้องสบตาด้วยตลอด ไม่หลบหรือหลีกเลี่ยงการปะทะสายตา แต่การสบสายตานั้นไม่ใช่การจ้องแบบเอาเลือดเอาเนื้อ ควรเป็นการแสดงออกด้วยความรู้สึกเอาใจใส่ และความปรารถนาที่อยากจะพูดคุยด้วย รวมถึงมีแววตาที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือ ความเป็นกันเอง และความร่วมมือต่างๆ ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อน การดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะทำให้คุณมีสภาพจิตใจที่ดี และมีแววตาที่ดี สดใส และแจ่มใสอยู่เสมอ

5.การใช้คำพูด และน้ำเสียง
     การใช้คำพูด และน้ำเสียงนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าสายตาที่จ้องมองคู่สนทนาซะอีก เพราะการใช้น้ำเสียง และคำพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะจะทำให้ความหมายที่สื่อออกมาผิด ยิ่งเป็นคนที่ไม่สุภาพด้วยแล้ว จะทำให้คนอื่นมองเราเป็นคนก้าวร้าว สักแต่ว่าจะพูด โดยคุณสามารถพัฒนาตัวเองได้ดังนี้ นิ่งเงียบ ใช้สถานการณ์ของการเงียบสยบความรู้สึก เพราะการที่ไม่พูดจะดีกว่าพูดออกมา แต่ถ้าทนไม่ไหวจริงๆ ก็ให้เลือกใช้คำพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นจะดีกว่า คือ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ดูถูกดูหมิ่น เหน็บแนม หรือใช้คำพูดก้าวร้าว

6. การแสดงพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ธรรมดา
    การแสดงพฤติกรรมอื่นๆ เช่น การเอามือล้วงกระเป๋า ผิวปาก หรือยักคิ้ว ยักไหล่ เวลาพูดคุยกับคนอื่น หรือแสดงพฤติกรรมอื่นๆ ที่แปลกไปจากคนอื่น เพราะจะทำให้ดูเสียบุคลิกภาพ เสียภาพลักษณ์ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือต่อผู้พบเห็น ซึ่งสามารถพัฒนาตนเองได้ดังนี้ ให้สังเกตว่าตัวคุณมีพฤติกรรมแปลกไปจากคนอื่นหรือไม่ รวมถึงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ควรต่อว่าหรือแสดงความโกรธเคืองหากมีคนตักเตือนหรือบอกกล่าวเกี่ยวกับ พฤติกรรมของตนที่ไม่ควรทำ ซึ่งอาจจะเป็นนิสัยที่คุณทำจนชินจนรู้สึกว่ามันไม่ได้เป็นอะไร อาจจะใช้เวลาในการปรับตัวบ้างก็แล้วแต่ตัวบุคคลว่าควบคุมตัวเองได้มากเท่า ไหร่


ที่มา :
http://th.jobsdb.com/th/TH/V6HTML/Home/customer_editor25.htm
 
ทุกท่านคงทราบดีแล้ว ว่าบุคลิกภาพที่ดีมีความหมายต่อชีวิตมาก

smart, work, ทำงาน, บุคลิกบุคลิกภาพ คือ คุณลักษณะทางกาย ทางจิตใจ และความรู้สึกนึกคิดที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็น และเกิดความประทับใจมากน้อยเพียงใด


บุคลิกภาพ มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบ เห็น จึงส่งผลต่อการยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ การสนับสนุน และความไว้วางใจจากผู้อื่น


หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพทำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้


1.อิริยาบถ คือ การยืน เดิน นั่ง เป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ต้องมีการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม

2.การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้อง ถือ ว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การทักทายและการทำความเคารพที่ถูกวิธีและถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆ การไปเยี่ยมคนป่วย การมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น

3.บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และ อาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือ ไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี




แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ ทำได้ด้วยการใส่ใจต่อการปฏิบัติตนให้หลายๆ ด้านค่ะ ขอแนะนำไว้เป็นแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

A.การรักษาสุขภาพอนามัย เพื่อให้บุคลิกภาพดีตามไปด้วย ทำได้โดย


- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่ม หรือลดผิดปกติ

- ละเว้นการสูบบุหรี่ หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด

- ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน

- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.

- รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ


B.การดูแลร่างกาย เพื่อให้บุคลิกภาพดีตามไปด้วย ทำได้โดย


- รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน

- ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง

- โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขลิบให้เรียบร้อย

- รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน

- รักษากลิ่นตัว

- รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม

- ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ

- ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน

- ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

- เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์


C.การแต่งกายเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ ทำได้โดย


- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ

- สีสันไม่ฉูดฉาด ควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง

- กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้าจัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย

- แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดี

- เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลางๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู

- ผม หมั่นสระให้สะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า

- เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด

- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ


D.การควบคุมอารมณ์และความเชื่อมั่นในตนเอง ทำได้โดย


ไม่ ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์ กันอยู่เสมอ ฉะนั้น บุคคลใดก็ตามที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น จะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น

ส่วนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองนั้น ทำได้โดย

- ยอมรับในความสามารถของตนเอง

- ถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องทำให้ดีที่สุด

- อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง

- หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้



ความ รู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี ไม่มองคนในแง่ร้าย จิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล จึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้


1.มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่างๆ

2.มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา

3.มีความสามารถที่จะทำงานให้เหมาะสมกับที่ได้รับมอบหมาย

4.มีความกระตือรือร้นอยากจะทำสิ่งต่างๆ มากมาย และเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ

5.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ

6.มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา

7.มีความรอบรู้

8.พัฒนาความจำให้แม่นยำ

9.วางตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

รายงานโดย :อ.ประณม ถาวรเวช
 

1.1 พัฒนาการ (Development)
คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามวัยของมนุษย์ ที่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะบันไดวนไม่สิ้นสุด ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ โดยทั่วไป
การกล่าวถึง พัฒนาการมนุษย์นั้น จะเน้นที่การศึกษาถึง การเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และศักยภาพต่าง ๆ ของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก การผสมผสาน ระหว่างการเจริญเติบโตไปสู่การมี วุฒิภาวะ และ การเรียนรู้
1.2 วุฒิภาวะ (Maturation)
วุฒิภาวะ คือ กระบวนการของการเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติ อย่างมีระบบระเบียบ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก ตัวอย่างเช่นความพร้อมของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรม ขึ้นเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ๆ
พัฒนาการชีวิตมนุษย์ส่วนหนึ่งขึ้นกับ วุฒิภาวะ พฤติกรรมพื้นฐานของชีวิต เช่น การนั่ง เดิน คลาน การเปล่งเสียงอ้อแอ้ เป็นวุฒิภาวะทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนมักจะต้องใช้การเรียนรู้ หรือการฝึกฝนร่วมด้วย เช่น การพูดด้วยภาษาที่สละสลวย หรือการฝึกขี่จักรยาน การฝึกขับรถ เป็นต้น
ตัวอย่างการศึกษาวุฒิภาวะ ที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่ง คือการศึกษาเด็กชนเผ่า โฮปิ (Hopi) โดย Dennis (1940) ซึ่งเด็กชนเผ่านี้ ถูกเลี้ยง โดยการผูกติดกับไม้กระดานทั้งวัน ตั้งแต่อายุประมาณ 7 เดือน โดยไม่ได้มีการฝึกนั่ง คลาน หรือเดินเลย แต่หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เมื่อปล่อยเด็กจากไม้กระดาน และได้รับการฝึกให้ นั่ง คลาน หรือ เดิน ทั้งนี้มีข้อเปรียบเทียบ พบว่า เด็กเผ่านี้เดินได้หลังจากเด็กยุโรป ประมาณ 1 เดือน ในขณะที่เด็กอัฟริกันเดินได้ก่อนเด็กยุโรป ประมาณ 1 เดือน
Dennis สรุปว่าการที่เด็กโฮปิ เดินได้โดยไม่ต้องฝึกฝน และเด็กชนชาติอื่น ๆ เดินได้ในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นผลมาจาก วุฒิภาวะ ของเด็กนั่นเอง
1.3 การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด การเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ของมนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์ต้องอาศัย การเรียนรู้มาก และพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เป็นผลมาจาก การเรียนรู้มากกว่าวุฒิภาวะ
อย่างไรก็ตามทั้ง วุฒิภาวะ และ การเรียนรู้ ต่างก็มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทั้งสิ้น การเรียนรู้ต่างๆ จะดำเนินไปไม่ได้ หรือไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร ถ้ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ แต่ถ้าถึงวุฒิภาวะของเด็กแล้วจะทำให้การเรียนรู้นั้นๆ จะได้ผลยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นการเรียนภาษา พบว่าการที่ให้เด็กเรียน ภาษาที่สอง ตั้งแต่การใช้ภาษาแรกของเด็ก ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอนั้น ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่หากถึงวุฒิภาวะแล้ว ไม่มีการฝึกหัด หรือได้เรียนรู้ในสิ่งนั้น ๆ แล้วค่อยไปฝึกหัดในภายหลัง ก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เช่นการฝึกว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือฝึกใช้ กล้ามเนื้อ ตอนโตมากแล้ว อาจไม่ได้ผลดีเท่าตอนเป็นเด็ก การเรียนรู้ใด ๆ จะได้ผลดียิ่งขึ้น จึงต้องให้เด็กมีวุฒิภาวะ หรือความพร้อม เสียก่อน จะทำให้การเรียนรู้นั้น ๆ ได้ผลดียิ่งขึ้น
1.4 กฎเกณฑ์ของพัฒนาการมนุษย
พัฒนาการมนุษย์ โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งเป็นไปตามแบบแผนและกฎเกณฑ์พอที่จะสรุปได้ดังนี้
  1. พัฒนาการเกิดขึ้นอย่างมีทิศทาง (Development is Directional) พัฒนาการเกิดขึ้น อย่างมี ระเบียบแบบแผน มีทิศทางจาก ไม่ซับซ้อนไปสู่ ที่ซับซ้อนกว่า จากทารกพัฒนาไปสู่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ในที่สุด พัฒนาจากศีรษะ ไปปลายเท้า และจาก แกนกลางของลำตัวไปสู่ส่วนย่อยดังจะเห็นว่าเด็กจะสามารถชันคอได้ก่อน และสามารถเคลื่อนไหวลำตัวก่อนมือและนิ้ว
  2. การใช้ส่วนย่อยและการรวมกันของส่วนย่อยเป็นกิจกรรมใหม่ขึ้นมา (Development is Cummulative) ในการพัฒนาการของมนุษย์จะพัฒนาจากขั้นแรกก่อนแล้วรวมเป็นกิจกรรมขั้นต่อไป เช่น คืบก่อนคลาน นั่งก่อนยืน และยืนก่อนเดิน เป็นต้น
  3. พัฒนาการเป็นสิ่งต่อเนื่องกัน (Development is Continuous) หมายถึงพัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาค่อย ๆ เปลี่ยน ตัวอย่างเช่น การพูดพัฒนามาจากการเปล่งเสียงอ้อแอ้ การงอกของฟัน งอกมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แต่ปรากฏชัดเจนตอนอายุประมาณ 6 เดือน การใช้ชีวิตในวัยหนุ่มสาวส่งผลต่อสุขภาพในวัยชรา เป็นต้น
  4. พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนโตเร็ว บางคนโตช้า บางคนพูดเร็ว บางคนอาจเดินได้เร็ว เป็นต้น
  5. พัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน เด็กคนหนึ่งอาจเติบโตเร็วมากในช่วง 2 ขวบแรก จากนั้นจะลดลงและเจริญเติบโตอีกครั้งหนึ่งในช่วงวัยรุ่นแล้วจะเติบโตช้าจน ถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา
  6. พัฒนาการมีลักษณะเป็นองค์รวม (Development is Holistic) พัฒนาการไม่ได้เป็นไปอย่างแยกส่วน แต่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และผลของพัฒนาการก็จะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของด้านต่าง ๆ ร่วมกัน

  "บุคลิกภาพ" (personality)


บุคลิกภาพ ของแต่ละคนจะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจาก คนอื่น และมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะประกอบกัน ทำให้คนแต่ละคนมี บุคลิกภาพ เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นผลมาจาก การทำงานประสานกันของ สมอง ที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และประสบการณ์ ที่ได้รับจาก สิ่งแวดล้อม
บุคลิกภาพ มีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง

คำว่า "บุคลิกภาพ" (personality) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่บ่งบอกความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

เออร์เนส อาร์.ฮิลการ์ด (Hilgard 1962:447) กล่าวว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคล และการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็น ปัจเจกบุคคล ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลักษณะที่ส่งผลสู่การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตนเอง ความสามารถ แรงจูงใจ ปฏิกิริยาในการเกิดอารมณ์ และลักษณะนิสัยที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิต

ฟิลลิป จี.ซิมบาร์โด และฟลอยด์ แอล.รูช (Zimbardo and Ruch 1980:292) อธิบายว่า บุคลิกภาพ เป็นผลรวมของลักษณะ เชิงจิตวิทยาของบุคคล แต่ละคน มีผลต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหลากหลายของบุคคลนั้น ทั้งส่วนที่เป็นลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ง่ายและพฤติกรรมภายในที่สังเกตได้ยาก ลักษณะที่หลากหลายดังกล่าว ส่งผลให้บุคคลแสดงออก ต่างกันใน แต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา

ริชาร์ด ซี.บุทซิน และคณะ (Bootzin and others 1991:502) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะนิสัยและรูปแบบของความคิด ความรู้สึก และการประพฤติปฏิบัติของบุคคลแต่ละคน

อัลชลี แจ่มเจริญ (2530:163) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งหมด ที่แสดงออกมาปรากฎ ให้คนอื่นได้รู้ได้เห็น ซึ่งแตกต่างกันเพราะภาวะสิ่งแวดล้อมที่สร้างตัวบุคคลนั้นแตกต่างกันประการ หนึ่ง และพันธุกรรม ที่แต่ละบุคคล ได้มาก็แตกต่างกัน ไปอีกประการหนึ่ง
จากคำจำกัดความและความหมายของ "บุคลิกภาพ" ที่กล่าวมา สรุปได้ว่า บุคลิกภาพ คือตัวบุคคลโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะทางกาย ซึ่งสังเกตได้ง่าย อันได้แก่รูปร่างหน้าตากิริยาท่าทาง น้ำเสียง คำพูด ความสามารถทางสมอง ทักษะการทำกิจกรรมต่างๆ และลักษณะทางจิต ซึ่งสังเกตได้ค่อนข้างยาก ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ ความมุ่งหวัง อุดมคติ เป้าหมาย และความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ลักษณะดังกล่าวมีที่มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน ส่งผลสู่ความสามารถในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล

จากความหมายของ บุคลิกภาพ ดังกล่าว เมื่อนำมาวิเคราะห์ให้สัมพันธ์กับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ โดยพิจารณา บุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน จะพบว่าทุกลักษณะของ บุคลิกภาพ มีอิทธิพลต่อผล การดำเนินงาน โดยมีอิทธิพลมากบ้างน้อยบ้าง จึงอาจให้ความหมายของ บุคลิกภาพ เชิงอุตสาหกรรมได้ว่า เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ของการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการใน งานอุตสาหกรรม
ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพ อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และ ความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็น ความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะ รู้ตัวเอง หรือ รู้พฤติกรรมของเราเอง ได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่า เรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับ สิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะ ควบคุมพฤติกรรม ของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถ ที่จะจัดการและ ควบคุมชีวิต เรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy) คนที่มีประสิทธิภาพ ส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจใน การมีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำ จะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัวและประสิทธิภาพส่วนตัวน ี้เองจะรวมกันเป็น บุคลิกภาพ ขึ้น

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมาก ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า "อีโก้ (Ego)" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ บุคลิกภาพ ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับอำนาจภายในร่างกาย หรือความต้องการ ความปรารถนาของคนคนนั้น ซึ่งอาจจะเป็นความเห็นแก่ตัว (id) กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความจริงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก จริยธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล (superego) และเมื่อมีการชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัย 2 ปัจจัยนี้แล้วก็จะเกิดการตัดสินใจขึ้น

คำถามคือ บุคลิกภาพ เกิดจากอะไร มาจากไหน นักทำนาย บุคลิกภาพ ฟรานซ์ โจเซฟ กอลล์ (Franze Joseph Gall) ได้ให้ทฤษฎีว่า รอยหยักบนพื้นผิวสมองนั่นเองเป็นตัวกำหนด บุคลิกภาพ เพราะส่วนนี้ทำให้เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อวิธีคิด ความรู้สึกและการกระทำของเรา

บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะอันเป็นของจำเพาะแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกทางท่าทาง ความรู้สึกนึกคิด ความเฉลียวฉลาด ตลอดจนกิริยามารยาท ลักษณะนิสัย และอุปนิสัย
 
การเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของบุคคล
บุคลิกลักษณะของบุคคล สามารถดัดแปลง แก้ไข เสริมสร้าง ให้ดีขึ้นได้ บุคลิกภาพที่ดีจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฝึกหัด ปรับปรุงกริยา ท่าทางและลักษณะต่างๆ


การเสริมสร้างบุคลิกลักษณะบุคคล
มี 7 ประการคือ
1. The way you look (การมอง)
2. The way you dress (การแต่งกาย)
3. The way you talk (การพูด)
4. The way you walk (การเดิน)
5. The way you acts
(การแสดงท่าทาง)
6. The skill with which you do thing
(ทักษะในการทำงานในหน้าที่)
7. Your health (สุขภาพ)

          เราควรจะพิจารณาว่าตัวเรา
มีพร้อมแล้วยัง??
มีอะไรบ้างที่ควรจะได้ปรับปรุงแก้ไข
เพื่อการเสริมสร้างบุคลิกภาพของตน
 กลวิธีปรับปรุงแก้ไข
ให้มีบุคลิกลักษณะดีขึ้น
1. จงเป็นคนใจคอกว้างขวาง
2. จงให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
3. จงเป็นตัวของตัวเอง
4. จงแสวงหาคำแนะนำ
5. จงลงมือกระทำจนกว่าจะถูกต้อง
6. จงตรวจสอบผลความก้าวหน้าของท่าน

สำหรับพนักงานติดต่อบริการให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
   ในสาขาอาชีพต่างๆ ที่มนุษย์ประกอบกิจขึ้นมาในโลกนี้ แต่ละอาชีพหรือหน้าที่ย่อมมีข้อแตกต่างในเชิงปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของเขตงานนั้นๆ

        อาชีพนักบริการ ก็เช่นกัน บุคคลซึ่งรับผิดชอบในหน้าที่นี้ ย่อมควรต้องมีคุณสมบัติสำคัญหลายประการ เพราะเป็นงานที่ต้องปฏิบัติระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ การเอาชนะเครื่องจักรและตัวเลขเอกสารถือเป็นงานปราศจากชีวิตชีวา แต่งานที่ต้องเอาชนะใจมนุษย์ได้นั้น เป็นงานศิลปที่ละเอียดอ่อนและท้าทายความสามารถเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นงานที่น่าภาคภูมิใจหากผู้ปฏิบัติได้กระทำโดยถูกวิธี เขาจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตลอดไป เพราะจะแวดล้อมด้วยมิตรและความสำเร็จ

 องค์ประกอบสำคัญของนักบริการคือ


ด้านมนุษย์สัมพันธ์ (HUMAN RELATIONSHIP)

 
1. มีใบหน้ายิ้มแย้มเสมอ
2. พูดจาให้ชัดเจน ไพเราะ และเรียบร้อย
3. แต่งกายให้เรียบร้อยและสะอาด
4. เป็นคนดี น่ารัก สุภาพ และบุคลิกสง่าผ่าเผย
5. บริการให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
6. ไม่จำเป็นต้องรับคำเสมอไป แต่จะต้องพยายามให้ดีที่สุดที่จะไม่กล่าวคำปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมากับผู้ที่ มาติดต่อ เพราะยังมีวิธีพูดอีกหลายวิธีที่ใช้แทนกันได้
7. ในการติดต่อกับผู้ที่มาติดต่อที่เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมเข้าใจง่ายๆ จงแนะนำอธิบาย แสดงความเสียใจหรือนิ่งแล้วแต่กรณี แต่อย่าได้ทะเลาะโต้เถียง พูดย้อนหรือขึ้นเสียงเป็นอันขาด
8. ลูกค้าที่มาติดต่อเป็นฝ่ายถูกเสมอ
9. ต้องจำได้ว่า ไม่มีใครชนะในการโต้เถียง
10. จงรักษาอารมณ์ไว้ เพื่อรักษาตำแหน่ง


 ศิลปโน้มน้าวจิตใจ (PERSUASIVE TECHNIQUE)

          1. จงให้ความสนใจแก่ผู้นั้น หรือกลุ่มนั้นอย่างจริงใจ ท่านจะได้รับการต้อนรับและสนใจจากทุกคนทุกหนแห่ง นักบริการที่ดีไม่ควรพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง แต่จงให้ความสนใจแก่เขา และเรื่องที่เกี่ยวกับเขา แสดงออกไปทั้งทางกิริยา วาจา และใจ
          2. ความยิ้มแย้ม เป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความประทับใจให้แก่ทุกคนเมื่อแรกพบ
          3. จงจำชื่อผู้ที่มาติดต่อให้ได้และใช้เรียกได้อย่างถูกต้อง เพราะทุกคนจะรู้สึกว่าคำพูดที่ไพเราะที่สุดและมีความหมายสำคัญยิ่งสำหรับเขา ก็คือ ชื่อของเขานั่นเอง
          4. จงเป็นนักฟังที่ดี ด้วยการให้ความสนใจเรื่องที่เขาพูดและยั่วยุให้เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา ไปเรื่อยๆ ตามความพอใจของเขา
          5. จงพูดในเรื่องที่เขากำลังสนใจ ได้แก่เรื่องที่เขากำลังคลั่งไคล้เรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ ความชำนาญของเขาเอง เรื่องที่เขากำลังภาคภูมิใจ หรือเรื่องที่เขาพึ่งได้รับความตื่นเต้นมาใหม่ๆ
          6. จงทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญ หรือชี้ให้เห็นจุดสำคัญดีเด่นในตัวเขาและจงทำเช่นนั้นด้วยความจริงใจ ทุกคนจะรู้สึกชอบท่านทันที เพราะทุกคนชอบยอ และชอบที่มีใครยกย่องแม้จะเป็นยอกันต่อหน้าที่ก็ตามที

          ทั้ง หกประการที่กล่าวมานี้เรียกว่า SIX WAYS TO MAKE PEOPLE LIKE YOU ของ DALE CARNEGIE และนอกจากนี้แล้วยังมี TWELVE WAYS TO WIN PEOPLE TO YOUR WAY OF THINKING คือ

วิธีชนะใจผู้อื่นตามแนวความคิดของท่าน
1. การโต้เถียงที่ได้ผลที่สุด คือการไม่โต้เถียง
2. จงแสดงความเคารพในความคิดเห็นของเขา อย่าบอกว่าเขาผิด
3. ถ้าเราผิด จงรับผิดนั้นทันที และอย่างหนักแน่น
4. จงเริ่มต้นด้วยความเป็นมิตร พูดไพเราะอ่อนหวานไม่นำเรื่องขัดแย้งมากล่าว
5. จงทำให้เขาพูดยอมรับว่า “ใช่” โดยเร็ว ถ้าโดยตรงไม่ได้ก็ค่อยทำทางอ้อมให้เขายอมรับไปทีละขั้นๆ
6. จงปล่อยให้เขาได้มีโอกาสพูดอย่างเต็มที่
7. จงทำให้เขารู้สึกว่า “ความคิด” นั้นเป็นของเขา แล้วเขาจะคล้อยตามโดยง่าย
8. จงพยายามมองดูเรื่องต่างๆ ใน “สายตา” ของเขา
9. จงแสดงความเห็นใจในความต้องการของเขา
10. จงพูดถึงสิ่งที่เขาควรภูมิใจ หรือปมเด่นของเขา ไม่ควรกล่าวถึงปมด้อยของเขา
11. จงแสดงความคิดเห็นของเรา ให้เป็นเรื่องที่น่าฟัง หรือสนุกสนาน
12. จงยั่วยุให้เกิดความรู้สึกแข่งขันไม่ยอมแพ้ หรือไม่น้อยหน้าใคร

 สร้างความนิยมเลื่อมในประทับใจด้วยการสื่อสารทางวาจา(FACE TO FACE CONVERSATION)
1. ควรพูดด้วยวาจาไพเราะและมีบุคลิกภาพ
2. ควรพูด้วยใบหน้าอันยิ้มแย้ม และแสดงความสนใจต่อผู้มาติดต่อหรือผู้ที่เราสนทนาอยู่ตลอดเวลา
3. ควรพูดอย่างสนิทสนมเป็นกันเอง คือ ไม่ควรวางมาดหรือบทบาทเป็นทางการนัก แต่ควรพูดอย่างมีคารวะอันควร
4. ควรพูดให้เป็นที่พอใจแก่คู่สนทนา หรือผู้มาไต่ถาม
5. ควรพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ เป็นภาษาพูด คือ ง่าย-สั้น ไม่ยาวฟุ่มเฟือย หรือเจื้อยแจ้ว
6. ควรพูดให้เป็นเข้าใจอย่างชัดแจ้งแก่คู่สนทนา และถ้าเป็นกรณีโต้ตอบคำซักถามของผู้มาติดต่อกิจการ ก็ควรรู้เรื่องทั่วไปไว้พอที่จะตอบให้ฟังเข้าใจได้        

           นิยามสำคัญที่น่าคิด “การค้นพบว่าลูกค้าชอบอะไรในตัวเรา ควรทำสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นอีกและการค้นพบว่าลูกค้าไม่ชอบอะไรในตัวเรา ก็ควรทำสิ่งนั้นให้น้อยลง”

 บัญญัติ 10 ประการในการเชื่อมสัมพันธไมตรี
1. “ทักทาย” ไม่มีอะไรน่าชื่นใจเท่ากับคำกล่าวทักอย่างจริงใจ
2. “ยิ้ม” ถ้าคุณหน้าบึ้ง กล้ามเนื้อ 72 ชิ้น จะต้องออกกำลัง ในขณะที่คุณยิ้มจะใช้กล้ามเนื้อ เพียง 14 ชิ้นเท่านั้น
3. “ชื่อของบุคคลที่คุณเรียก” จะเป็นดนตรีอันไพเราะที่สุดสำหรับเจ้าของชื่อ
4. “มีมิตรภาพและน้ำใจ” เพื่อที่เขาจะมอบมิตรภาพและน้ำใจกลับมาให้คุณบ้าง
5. “จริงใจ” อย่าเสแสร้ง ท่าทางและคำพูด จงทำทุกอย่างด้วยน้ำใสใจจริง
6. “ใส่ใจในผู้อื่น” จงพยายามชอบคนรอบข้างของคุณให้ได้
7. “เผื่อแผ่คำชม” แต่จง “สงวนคำติ”
8. “นึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น” ถ้ามีข้อโต้แย้ง อย่าลืมว่านอกจากคุณแล้ว ก็มีฝ่ายตรงข้ามและความถูกต้องที่ต้องคำนึงถึง
9. “พร้อมที่จะให้บริการ” การให้ที่มีความหมายต่อผู้รับมากที่สุดคือ “การให้บริการ”
10. “เพิ่มอารมณ์ขัน อดทนให้มาก ถ่อมตนสักเล็กน้อย” และคุณจะชื่นชมในผลลัพธ์ที่ได้มา


ขอบคุณสารสนเทศจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ที่มา http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/link_etc_data/etclink/per/index.html
บุคลิกภาพกับการเลือกอาชีพ

บุคลิกภาพ นั้นนอกจากจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้บุคคลแต่ละคน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละบุคคลแล้ว ยังสามารถมีส่วนช่วยในการ เลือกอาชีพ ให้เหมาะสมกับตัวคุณได้อีกด้วย ดังที่ปรากฏใน "ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ของของ John L. Holland ซึ่งเชื่อว่าบุคลิกภาพของคนจะสะท้อนผ่านการเลือกอาชีพของตน โดยเหตุผลในการเลือกอาชีพนั้นเกิดจากการผสมผสานความคิดต่อตัวเอง และความเข้าใจต่ออาชีพที่เลือก นั่นคือ คนที่เลือกอาชีพได้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนมากที่สุด จะมีความพึงพอใจในอาชีพและส่งผลให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนั้นๆ ได้

"ทฤษฎีการเลือกอาชีพ" ของของ John L. Holland ซึ่ง เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนจะสะท้อนผ่านการเลือกอาชีพของตน โดยเหตุผลในการเลือกอาชีพนั้นเกิดจากการผสมผสานความคิดต่อตัวเอง และความเข้าใจต่ออาชีพที่เลือก นั่นคือ คนที่เลือกอาชีพได้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของตนมากที่สุด จะมีความพึงพอใจในอาชีพและส่งผลให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนั้นๆ ได้ 

บุคลิกภาพ คือ ลักษณะโดยรวมของพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในของแต่ละบุคคลซึ่งรวมถึงความ สามารถ ความถนัด ความสนใจและความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของบุคคลนั้น อันส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยเฉพาะของแต่ละคนซึ่งแตกต่างกันไป
ทฤษฎีที่จะแนะนำว่าบุคลิกของคุณ เหมาะสมกับงานลักษณะใด แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าคุณควรจะทำอาชีพนี้เพียงเท่านั้น เพราะยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมาก ที่จะต้องนำมาเป็นตัวช่วยพิจารณาในการตัดสินใจ ทั้งความฝัน ความชอบ ความถนัดส่วนตัว และความรู้ความสามารถต่างๆ ที่มี แต่อย่างน้อยหากเรารู้จักตัวเอง และความต้องการของตัวเอง ก็จะสามารถทำให้เราเลือกอาชีพได้ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น
คนเราก็จะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ไป มากมายหลากหลาย แล้วแต่สภาวะทางใจและทางกายของแต่ละบุคคล ทั้งการเลี้ยงดู การศึกษา และสภาวะทางสังคม รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทฤษฎีนี้ก็ได้แบ่งประเภทของบุคลิกภาพออกเป็นกลุ่มๆ 6 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของงานที่เหมาะกับคนในบุคลิกต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบจริงจัง (Realistic) 

บุคลิกภาพ : คนในกลุ่มที่1 คือคนประเภทที่ชอบกิจกรรมเกี่ยวกับการควบคุม การปฏิบัติการกับเครื่องยนต์กลไก หรือจำพวกเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ชอบแก้ไขซ่อมแซมวัสดุต่างๆ ทั้งไม้และโลหะ มีความถนัดทางช่าง ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง ชอบ งานประเภทใช้กำลังกาย ชอบการเคลื่อนไหวและใช้ทักษะ เป็นลักษณะงานของผู้ชาย ชอบงานประเภทมองเห็นปัญหาที่จะแก้ไขได้ชัดเจน เลี่ยงกิจกรรมแบบต้องใช้วาจาอธิบาย สนใจคณิตศาสตร์ ไม่ชอบงานภาษาหรือการศึกษา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับคน นอกจากนี้ยังเป็นคนขี้อายถ่อมตน เกรงใจคน คล้อยตามระบบกฎเกณฑ์ บางครั้งอาจเป็นคนขวานผ่าซาก ไม่มีพิธีรีตอง เก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร แต่ไม่คิดมาก ไม่เพ้อฝัน หนักแน่น อดทน เอาการเอางาน จริงจัง พากเพียร เสมอต้นเสมอปลาย บุคคลพวกนี้อาจจะขาดทักษะทางสังคม 

ความสามารถ : สิ่งที่คนประเภทนี้จะสามารถทำได้ดีก็คือ อ่านพิมพ์เขียว แก้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ชอบทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือชนิดต่างๆ ตลอดจนวิธีการใช้งานต่างๆ มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ 

อาชีพ : อาชีพที่เหมาะสม ได้แก่ วิศวกร เจ้าหน้าที่เกษตรกรรม ช่างเทคนิค ช่างฝีมือ ช่างซ่อม ช่างฟิต ช่างสำรวจ ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างตัดเสื้อ ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่อง ช่างประปา นักประมง นักเดินป่า พนักงานป่าไม้ นักกีฬา นักเดินเรือ นักประดาน้ำ นักประดิษฐ์วัสดุ ครูสอนอุตสาหกรรมศิลป์ ครูสอนการเกษตร เจ้าหน้าที่เอ็กซ์เรย์ เป็นต้น ถือเป็นอาชีพที่คนในกลุ่มนี้จะสามารถทำได้ดีกว่าบุคคลในกลุ่มอื่นๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบใช้ปัญญา และความคิดแบบนักวิชาการ (Investigative) 

บุคลิกภาพ : บุคคลในกลุ่มที่ 2 จะเป็นบุคคลประเภทที่มีลักษณะดังนี้ เป็นคนที่ชอบการวิเคราะห์ และการประเมิน เป็นคนอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างสงสัย ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แถมยังมีเหตุผล ละเอียดรอบคอบ เป็นคนค่อนข้างอนุรักษ์นิยม นิสัยชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังคมมาก ชอบงานอิสระ ไม่ชอบเอาอย่างใคร พึ่งพาตนเองได้ มีความมั่นใจในตนเอง ชอบคิดชอบฝัน ชอบแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชอบวิจัยในโครงงานทางวิทยาศาสตร์ ชอบทำงานที่ซับซ้อน หรืองานทดลองแบบประเภทท้าทายความสามารถ ไม่ชอบงานการค้า หรือการโฆษณาชักชวน ยึดระเบียบกฎเกณฑ์ สนใจการจัดการและวางแผนงาน เป็นคนมุ่งงานเป็นใหญ่ และสนใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม บุคคลประเภทนี้อาจจะ ขาดทักษะในการเป็นผู้นำ 

ความสามารถ : เป็นคนมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีความสามารถที่จะฝึกฝนอบรบทางช่างบางสาขาได้ มีความสามารถทำงานโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ทำงานเกี่ยวกับผลของกระแสคลื่นทางวิทยุ ความถี่ต่างๆได้ดี มีความสามารถทางคณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์ รู้จักการทำงานของร่างกาย สามารถแปลส่วนผสมทางเคมี และรู้จักวิธีการใช้เครื่องมือทางเทคนิคได้ดี 

อาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์ สัตวศาสตร์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักพยาธิวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักสถิติ นักชีววิทยา นักจุลชีววิทยา นักเคมี นักฟิสิกส์ นักวางแผน นักวิจัย นักวิชาการ ครูสอนคณิตศาสตร์ ครูสอนวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา นักธรณีวิทยา นักสมุทรวิทยา นักดาราศาสตร์ นักอุตุนิยมวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักสืบสวน ถือเป็นงานที่เหมาะกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบที่ 2 นี้