วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

             

ประเมินตัวเอง เป้าหมายชีวิต
         บุคลิกภาพที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับการมีกาลเทศะด้วย เพราะฉะนั้นการที่จะส่งเสริมให้ตนเองนั้นมีบุคลิกภาพที่ดียิ่งขึ้น คือ เราจะต้องรอบคอบด้วยว่าในขณะนั้น ตัวเราอยู่ในสถานที่ใด ในสถานะอะไร และมีใครที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้การแสดงออกทางด้านบุคลิกภาพที่ดี ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเราเองได้
               ในตัวของข้าพเจ้าเองนั้น มีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งในด้าน ร่างกาย กริยา วาจา ใจ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าการฝึกฝนตนเองให้กลายเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้นได้ ไม่ใช่เรื่องยากอะไรหาก เรามีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะทำจริงๆ
  ระยะเวลา
               1 เดือน ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2552 15 สิงหาคม 2552
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
๑.     เ ป็นคนที่มีความมั่นใจในการแสดงออกถึงบุคลิกภาพของตน
๒.   เป็นคนที่แสดงออกถึงบุคลิกภาพได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ
๓.   พบจุดพอดีหรือความเป็นตัวของตัวเองที่จะแสดงออกถึงบุคลิกภาพได้อย่างเหมาะสม
๔.   เพื่อที่จะเป็นที่ไว้วางใจในผู้ที่อาวุโสกว่า หรือ ผู้ที่รุ่นราวคราวเดียวกัน

วิธีการเรียนรู้
๑.     สอบถามกับผู้ที่เราเห็นว่าเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี ตรงตามแบบอย่างที่เราต้องการจะเป็น
๒.   เลือกศึกษาด้วยตนเอง โดยค้นหาหนังสือ หรือบทความ ที่กล่าวถึงการฝึกบุคลิกภาพให้ดีขึ้น
๓.   เรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าในสถานการณ์นั้นๆเราควรวางตัวอย่างไรให้เหมาะสม

แนวทางพิสูจน์ว่าเกิดการเรียนรู้แล้ว
               อันดับแรกก็ต้องสำรวจตัวเองก่อนเลยว่าดูเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ทั้งในด้านอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ เพราะหากเราฝึกบุคลิกภาพได้ดีขึ้นแล้ว สภาพอารมณ์และจิตใจก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีด้วย
               ต่อมาให้สังเกตจากคนรอบข้างว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร หรือหากไม่ต้องการสังเกต ก็ให้เข้าไปถามเลยว่าเราเปลี่ยนไปบ้างแล้วหรือไม่มากน้อยเพียงใด

คำอธิบายเพิ่มเติม
               องค์ประกอบของบุคลิกภาพของบุคคล
               บุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆดังนี้
๑.     ด้านกายภาพ หมายถึงรูปร่างหน้าตา ทรวดทรง ท่าทาง การแต่งกาย การเดิน เป็นต้น
๒.   ด้านวาจา หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง ซึ่งผู้อื่นจะรับรู้ได้โดยการฟัง ลักษณะต่าง ๆ สะท้อน บุคลิกภาพด้านนี้เช่น การพูดไม่เข้าหูคน การพูดจากระโชกโฮกฮาก การพูดจาน่าฟัง เป็นต้น บุคลิกภาพทางวาจาที่ดีย่อมหมายถึงการพูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟังเป็นมิตร และได้สาระ
๓.   ด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางการคิดแก้ปัญหา ไหวพริบ ความสามารถที่จะมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม คิดเป็น รู้จักคิด คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แสดงออกหรือสนองตอบผู้อื่นได้อย่าง“ทันกัน” และ “ทันกาล”
๔.   ด้านอารมณ์ หมายถึง การมีอารมณ์ดี คงเส้นคงวา ไม่วู่วาม เอาแต่อารมณ์ ฉุนเฉียวโกรธง่าย หรือบางคนมีอารมณ์ร่าเริง มากกว่าอารมณ์อื่น หรือบางคน เครียด เศร้า ขุ่นมัว หม่นหมองอยู่เสมอ
๕.   ด้านความสนใจและเจตคติของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปบางคนไม่สนใจการเมือง ซึ่งบางคนมีความสนใจ หลากหลายไม่สนใจเพียง เรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
๖.    ด้านการปรับตัว มีผลต่อลักษณะของบุคลิกภาพ ถ้าใช้แบบที่ดีมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สังคม ยอมรับ จะอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามถ้าปรับตัวไม่ดีวางตัวในสังคมไม่เหมาะสม ย่อมมี ผลเสียต่อบุคลิกภาพด้านอื่น ๆ ไปด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น